ยินดีต้อนรับเข้าสู่คลังปัญญาความรู้เกี่ยวกับไก่ หากมีข้อมูลใดผิดพลาดก็ขออภัยมาในที่นี้ด้วย ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาชมนะคร้บ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

นอกจากเลี้ยงไก่แล้วได้ไข่ได้อะไรอีก...

อันดับแรกมารู้จักปุ๋ยขี้ไก่กันนะค่ะ
คุณลักษณะเด่น 10 ประการ ของปู่๋ยขี้ไก่อัดเม็ด 
1. ไม่มีกลิ่นเหม็น จริงๆก็มีกลิ่นเหม็นนิดหน่อย (ก็ขี้ไก่นี่นา) แต่ปุ๋ยเรากลิ่นน้อยมากครับ ผ่านการอบไอน้ำ อบแห้ง ดูดกลิ่น ดูดความชื้น
2. ระยะเวลาเก็บ เก็บไว้ได้นาน 6 เดือนสบายๆ โดยห้ามโดนน้ำเป็นสำคัญ ส่วนปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ดทั่วไปเก็บได้ 2 เดือนก็ถือว่าเก่งแล้ว
3. คุณภาพ ปุ๋ยเราคุณภาพใกล้เคียงปุ๋ยเคมี ผ่านการทดสอบร่วมกับเกษตรกรแล้วมากกว่า 3 ปีได้ผลผลิตใกล้เคียงมาก ส่วนพื้นที่ที่เป็นดินทราย ปุ๋ยขี้ไก่เราได้ผลผลิตมากกว่าปุ๋ยเคมีเกือบ 50%
4. ไม่เป็นเชื้อรา ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ดเรา มีการเพิ่มสารป้องกันเชื้อรา และเป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถใช้ได้ดีกับพืชที่แพ้เชื้อราง่าย เช่น ยางพาราและพืชผัก ต่างๆ
5. เม็ดปุ๋ยเนื้อแน่น เม็ดสวย เนื้อแน่น ไม่แตกยุ่ยง่ายทำให้พืชได้รับสารอาหารระยะเวลายาวนานขึ้น เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตรึงอากาศที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้นานขึ้น 



6. ปลอดภัยจากเชื้อโรค เพราะผ่านการฆ่าเชื้อ และหมักจนได้ที่ยาวนานกว่า 6 เดือน ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยขบวนการอบไอน้ำ และอบแห้ง อีกทั้งวัตถุดิบก็มาจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
7. ไม่ทำลายหน้าดิน ปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิดเป็นประโยชน์ต่อหน้าดิน ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นเพราะจะทำให้ดินโปร่งร่วนซุย อุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อพืชในการปลูกครั้งต่อๆไป อีกทั้งปุ๋ยขี้ไก่ไม่มีวัชพืช เหมือนปุ๋ยจากมูลสัตย์อื่นๆ ที่มีวัชพืชติดมาด้วย ต้องเสียแรงในการบำรุงรักษาเพิ่มเติม
8. มีมาตรฐานรับรอง เนื่องจากโรงงานเราผ่านการจดลิขสิทธิ์และตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตจากกรมวิชาการเกษตรอินทรีย์ แผนใหม่โดยตรง ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการหลัก เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น
9. เครื่องจักรทันสมัย เป็นเครื่องอัดขนาดใหญ่มาตรฐานยุโรป(EU) ต่างจากที่อื่นที่ลงทุนโดยใช้เครื่องจักรขนาดเล็ก
10. สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ด้วย เป็นการส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนี้
จากเดิมใช้ปุ๋ยเคมี 2 ถุง เปลี่ยนเป็นใช้ปุ๋ยเคมี 1 ถุง ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ดเรา 1 ถุงครึ่ง หรือหากต้องการประหยัด ไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีก็ได้ เนื่องจากคุณภาพปุ๋ยเราใกล้เคียงกับปุ๋ยเคมี โดยใช้ในปริมาณที่มากขึ้น 50% ก็ได้ผลใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยเคมี

ราคาขายโดยทั่วไปขนาดบรรจุ  50 กก.  ราคา 250 บาท
ขนาดบรรจุ 25 กก.  ราคา  125 บาท

พาเที่ยวฟาร์มไก่ไข่กับกบนอกกะลา

              เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนมีอุณหภูมิของอากาศค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงสัตว์มักสร้างโรงเรือนเป็นโรงเรือนเปิด ทั้งนี้เพื่อต้องการให้อากาศภายในโรงเรือนมีการ หมุนเวียนและระบายอากาศเป็นการลดความร้อนภายในโรงเรือนได้ดี โรงเรือนเปิดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อุณหภูมิของโรงเรือนจะผันแปรไปตามสภาพของอากาศภายนอกโรงเรือน ช่วงหน้าร้อนอากาศ จะร้อนมาก สัตว์เลี้ยงบางชนิด เช่น ไก่เนื้อ อาจทนอากาศร้อนไม่ไหว wwเพื่อหลีกเลี่ยงจากอากาศร้อนและต้องการควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนจึงได้มีการคิดค้นโรงเรือนระบบปิดขึ้นโดยใช้หลักการระบายความร้อนด้วยน้ำและใช้พัดลมเป็นตัวถ่ายเทอากาศ โดยมีแผ่นรังผึ้ง (cooling pad) ที่ปล่อยน้ำไหลผ่านจนเปียกชุ่ม เมื่อเดินพัดลมซึ่งอยู่ในแนวตรงกันข้ามกับแผ่นรังผึ้งอากาศภายนอกจะถูกดูดผ่านแผ่นรังผึ้งเข้าภายในโรงเรือน ภายในโรงเรือนจะเย็นสบายโดยใช้หลักการระเหยของน้ำ นอกจากนี้โรงเรือนระบบปิดยังสามารถป้องกันโรคได้อย่างดีโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก




                ผู้เข้ามาติดตามสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในฟาร์มหรือการเริ่มต้นทำฟาร์มได้โดยการศึกษาจากวิดีโอข้างบนนี้  ซึ่งสามารถติดตามชมในภาคที่ 3 และ 4 ได้ในเว็บยูทูปต่อไปนะค่ะ

ไข่ หรือ ไก่ อะไรเกิดก่อนกัน

รายงานข่าวล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษประกาศว่า พวกเขาพบคำตอบของปัญหาโลกแตกนี้แล้ว ซึ่งก็คือ "ไก่" เกิดก่อน โดยนักวิจัยได้บันทึกคำตอบดังกล่าวลงในรายงานที่มีการเผยแพร่ออกมาแล้วว่า โปรตีนชื่อ ovocledidin-17 เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ไข่มีเปลือกแข็งอย่างที่เห็น และด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ โปรตีนที่จำเป็นดังกล่าวจะสามารถผลิตได้จากในตัวไก่เท่านั้น ดังนั้นไข่จึงไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีไก่ได้  
"มันเป็นเวลานานแล้วที่เราสงสัย ว่า ไข่น่าจะเกิดก่อนไก่ แต่ตอนนี้ เราได้ข้อพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงแล้วว่า ไก่เกิดก่อน" ดร.โคลิน ฟรีแมน จากสาขาวัสดุวิศวกรรม (Department of Engineering Materials) มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ กล่าว ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การค้นพบคำตอบดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการหาคำตอบของอายุของพวกมันว่าเกิดมา นานเท่าไรแล้วได้อีกด้วย
โดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์โครง สร้างโมเลกุลของเปลือกไข่ ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ และวอร์วิคพบว่า โปรตีน OC-17 ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น และเริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนสภาพของแคลเซียมคาร์บอเนตจากในตัวไก่ให้อยู่ใน รูปของเปลือกแข็งที่ใช้ห่อหุ้มไข่แดงและไข่ขาว ซึ่งหากไม่มีไก่ขั้นตอน หรือกระบวนการนี้ก็จะไม่อาจเกิดขึ้นได้ 
"การเข้าใจว่า ไก่สามารถสร้างเปลือกไข่ได้จากในตัวมันเองได้อย่างไร ยังทำให้เราได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการออกแบบวัสดุ และกระบวนการผลิตใหม่ๆ อีกด้วย" ศาสตราจารย์ จอห์น ฮาร์ดิง จากมหาวิทยลัยเชฟฟิลด์ กล่าว "ธรรมชาติพบคำตอบที่เป็นนวตกรรมที่สามารถนำมาแก้ปัญหาได้ทุกอย่างในเรื่อง ของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางด้านวัสดุ เราสามารถเรียนรู้อะไรได้อีกมากมายจากการค้นพบนี้"

คุณประโยชน์จากไข่ไก่

 ไข่ไก่  เป็นอาหารที่ สมบูรณ์ บริสุทธิ์ เป็นแหล่งอาหารที่ดี
 ส่วนประกอบสำคัญของไข่     คือ โปรตีน โดยมีกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตถึง 10 ชนิด และยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญอีก 13 ชนิด

 ส่วนประกอบของฟองไข่
เปลือกไข่     ประกอบด้วย แคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ เปลือกไข่มีรูเล็ก ๆ มากกว่า 17,000 รู
ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าสารเคลือบผิวป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าฟองไข่
ไข่ขาว     เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ มีลักษณะข้นและใส ส่วนที่ข้นอยู่ใกล้ไข่แดง
แต่เมื่อเก็บนานขึ้นความข้นจะลดลง ไข่ขาวทำหน้าที่พยุงให้ไข่แดงอยู่คงที่
ช่วยรองรับแรงกระเทีอนไม่ให้ไข่แดงแตกตัว


ไข่แดง     มีคุณค่าอาหารสูง ประกอบด้วยไขมัน และโปรตีนเล็กน้อย วิตามิน เอ ดี อี เกลือแร่
แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม และมีสังกะสี ไอโอดีน และ ซีลีเนียม สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบีโฟเลต ไขมันไม่อิ่มตัวสีของไข่แดงขึ้นอยู่กับการกินอาหาร
ของแม่ไก่
ข้อควรระวัง 
     การบริโภคไข่ดิบ หรือไข่เน่าเสีย จะทำให้เกิดอาการ อาหารเป็นพิษได้ สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา
ดังนั้น ควรปฏิบัติกับไข่ที่จะนำมาบริโภคดังนี้
1. ควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
2. ควรบริโภคไข่ให้หมดภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากซื้อ
3. ล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัสไข่
4. เช็ดเปลือกไข่ที่สกปรกให้สะอาด
5. ไม่ควรบริโภคไข่ที่เปลือกไข่แตก หรือ บุบ ร้าว
6. ไม่บริโภคไข่ที่หมดอายุ หากไม่แน่ใจ ให้ทดสอบโดยนำไข่ไปลอยน้ำ
    หากไข่จมแสดงว่าไข่ยังสดอยู่    แต่ถ้าลอยหรือมีกลิ่นแสดงว่าไข่เน่าเสีย
     คำแนะนำในการบริโภคไข่ไก่ให้เป็นประโยชน์
1. เด็ก ๆ ควรรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง
2. วัยหนุ่มสาวควรบริโภคไข่ไก่ไม่เกินวันละ 2 ฟอง
3. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรบริโภคไข่ไก่ไม่เกิน วัน ละ 1 ฟอง
4. แต่สำหรับชายวัยฉกรรจ์ไข่ไก่มีประโยชน์อย่างยิ่ง
    - ไข่ไก่ช่วยให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่า กระชุ่มกระชวย
      ช่วยให้พลังงานกับร่างกายอย่างเต็มที่
    - ไข่ไก่ช่วยทดแทนพลังงานที่ร่างกายสูญเสียไป

   ไข่กับเลซิติน 
     เลซิติน พบมากในไข่แดง และเมล็ดถั่ว เป็นไขมันในรูปของสารประกอบฟอสโฟลิปิด เลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อเซลล์ประสาท
เลซิติน ช่วยการย่อยและขนส่งไขมัน ทำให้เกิดเป็นพลังงานและใช้ไขมัน และเป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์จากตับ ซึ่งช่วยให้สามารถรับคลอเลสเตอรอลจากร่างกายกลับเข้าสู่ตับได้มากขึ้น ช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย เป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างโคลีน ซึ่งมีผลในการเสริมสร้างความจำและลดอาการหลงลืม
 เลซิตินเหมาะสำหรับ
1. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดัน
2. ผู้ที่มีระดับคลอเลสเตอรอลสูง
3. ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างความจำ
4. ผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการหลงลืม
5. เด็กที่อยู่ในวัยเรียน
6. ผู้ที่ทำงานใช้สมองเคร่งเครียด

 ไข่กับโคเลสเตอรอล 
     คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการกินไข่มาก ๆ ทำให้ปริมาณคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งที่ไข่ประกอบด้วย คลอเลสเตอรอล
200 มิลลิกรัม ในแต่ละวัน ร่างกายต้องการคลอเรสเตอรอลจากอาหารวันละ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นการกินไข่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดเพียงเล็กน้อย และบางครั้งการกินไข่ อาจไม่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดมากเท่ากับการกินเนื้อสัตว์ที่มีปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัวสูง

การเลือกไข่ไก่




การเก็บรักษาไข่ควรปฏิบัติดังนี้

  1. เลือกเก็บเฉพาะไข่ที่ออกใหม่และเปลือกสะอาด หากเปลือไข่ไม่สะอาดอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ติดอยู่ที่เปลือของไข่ทำให้ จุลินทรีย์อาจซึมเข้าไปข้างในไข่ทำให้ไข่เสียง่าย
  2. ไม่ควรล้างไข่ก่อนถึงเวลาประกิบอาหาร การล้างไข่มิได้ทำใ้ห้ไข่เสีย แต่จะล้างเมือกที่เคลือบรอลเปลือกไข่ออกทำให้แ๊สและน้ำระเหขออกจากฟองไข่มากขึ้นและจุลินทรีย์เข้าไปในไข่มากขึ้น ถ้าจำเป็นต้องล้างควรทาน้ำมันพืชที่เปลือกไข่ จะช่วยให้เก็บได้นานขึ้น
  3. เก็บไข่ใว้ในอุณหภูมิต่ำ หากเก็บใว้ในอุณหภูมิปกติเพียง 3 วัน จะเสียเร็ว
  4. หากเก็บไข่ในภาชนะก็ควรเป็นภาชนะที่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำและแก็ส
    ออกจากไข่ และควรเก็บในที่ปราศจากกลิ่นอับ เหม็น มิฉะนั้นไข่จะดูดกลิ่นเข้าไปทางรูเปลือกได้
  5. เวลาเก็บควรตั้งด้านแหลมขึ้นด้านบนเสมอ 
เบอร์ไข่ไก่


น้ำหนักไข่ 71 กรัม ขึ้นไป เบอร์ 0 
น้ำหนักไข่  65-70 กรัม   เบอร์ 1 
น้ำหนักไข่  60-64 กรัม   เบอร์ 2 
น้ำหนักไข่  55-59 กรัม   เบอร์ 3
น้ำหนักไข่  50-54 กรัม   เบอร์ 4 
น้ำหนักไข่  45-49 กรัม   เบอร์ 5 

โรคไข้หวัดนก

             โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ทำอันตรายต่อสัตว์ปีกมานานหลายปี มักพบในไก่ไข่ ไก่เนื้อ ไก่งวง ไก่ต๊อก เป็ด ห่าน นกกระทา นกทะเล นกตามชายฝั่ง และสัตว์ปีกอื่นๆ โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำที่มีการอพยพระหว่างประเทศ ซึ่งนกเป็ดน้ำจะมีความต้านทานต่อโรคไข้หวัดนกสูงกว่าสัตว์ปีกชนิดอื่น

ความหมายของเชื้อไข้หวัดนก
             โรคไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัส มีเปลือกหุ้ม และส่วนที่ยื่นออกมาของ Glycoprotein ซึ่งเป็น Surface antigen เรียกว่า Hemagglutinin (H) จำนวน 15 ชนิด และ Neuraminidase (N) จำนวน 9 ชนิด
เชื้อชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่ม Influenza type A (ปกติจะมี 3 type) การกำหนดว่าเป็นชนิดอะไร (A B C) ขึ้นอยู่กับ M protein บนเปลือกหุ้มไวรัส และ Nucleoprotein
             Influenza type A เกิดขึ้นในสัตว์เกือบทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์
             Influenza type B C ไม่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
 การติดต่อของเชื้อ
            ส่วนมากนกเป็ดน้ำจะเป็นพาหนะนำโรค โดยที่เชื้อจะอยู่ในส่วนของลำไส้ และแพร่กระจายออกมากับอุจจาระ น้ำมูก สิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ดิน พืช  สัตว์ปีกทุกชนิดสามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก ทางเยื่อบุต่างๆ หรือทางบาดแผล  โดยเชื้อมักปนเปื้อนมากับน้ำ อาหาร หรือกระจายฟุ้งไปในอากาศ
 การติดเชื้อในสัตว์ปีกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
            1. Highly Pathogenic Avian Influenza (HPAI) เป็นการติดเชื้อชนิดรุนแรง พบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม H5 และ H7 บางตัว บางตัว อาทิ  H5N1, H7N7
            2. Low Pathogenic Avian Influenza (LPAI) เป็นการติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง มักพบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม H1 - H15
   ระยะฟักตัว
            ระยะฟักตัวในสัตว์ปีกตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ถึง 3 วัน แต่สำหรับฝูงสัตว์ใหญ่อาจมากถึง 14 วัน

ลักษณะการแพร่กระจายของเชื้อ
            1. การแพร่กระจายระหว่างสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง
            เชื้อจะพบในอุจจาระของสัตว์ที่ติดเชื้อมาแล้วนาน 7-14 วัน หรือ มากกว่า 14 สัปดาห์ เชื้อชอบสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้น และอุณหภูมิต่ำ จะสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะในปุ๋ยคอก  การแพร่กระจายระหว่างฟาร์ม เกิดจาก การเดินเข้าออกในฟาร์มโดยไม่ผ่านการล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ การทิ้งขยะ หนู สัตว์ฟันแทะอื่นๆ แมลงวัน นกป่า โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำ  นอกจากนี้ เชื้ออาจถูกพบบนเปลือกไข่ทั้งชั้นนอกและชั้นใน ซึ่งอาจแพร่เชื้อระหว่างการนำเข้าไปยังตู้ฟักได้ การพัดของลมไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังฟาร์มอื่นได้ ส่วนใหญ่การแพร่เชื้อระหว่างฟาร์มเกิดจากการเคลื่อนย้ายรถ คน เครื่องมืออุปกรณ์ระหว่างฟาร์ม
            2. การแพร่กระจายระหว่างสัตว์ปีก
            การแพร่โรคระหว่างสัตว์ปีกหรือในฝูงสัตว์ปีก มักพบผ่านทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะฟุ้งกระจายในอากาศ ซึ่งมาจากน้ำคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค  นอกจากนี้ ยังมาจากการสัมผัสอุจจาระสัตว์ป่วย
            3. การแพร่กระจายโรคจากสัตว์สู่คน
            มนุษย์สามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก บาดแผลผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเชื้อมักจะปนเปื้อนมากับอุจจาระ น้ำคัดหลั่งของสัตว์ป่วย กลุ่มเสี่ยงได้แก่คนที่ทำงานในฟาร์ม คนเชือดไก่ คนเลี้ยงสัตว์ปีก คนเชือดไก่ คนที่เดินผ่านตลาดซื้อขายสัตว์ปีก คนที่สัมผัสเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อน คนที่สัมผัสไข่ไก่ที่ปนเปื้อนเชื้อ สามารถได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
อาการของสัตว์ป่วย
            -  ตายอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่สามารถสังเกตอาการได้
            -  มีน้ำมูก ไอจาม หลอดลมอักเสบ ผอมแห้ง เบื่ออาหาร ท้องเสีย
            -  ไข้ลด ไข่นิ่ม มีรูปร่างผิดปกติ
            -  เหนียงบวม หงอนบวม หน้าบวม เปลือกตาบวม ข้อบวม หลอดลมบวมน้ำ
            -  มีจุดเลือดออกสีแดงคล้ำบริเวณ เหนียง หงอน และขา ของสัตว์ปีก
            -  การเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชักกระตุก
โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดของไก่ในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การแพร่ะระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยการหายใจเอาเชื้อ หรือกินน้ำ อาหารที่มีเชื้อปนเข้าไป จากอุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย และสิ่งขับถ่ายอื่นๆ ของไก่ป่วย ไก่ที่ป่วยจะมีอาการทางระบบหายใจและระบบประสาท เช่น หายใจลำบาก มีเสียงดังเวลาหายใจ มีน้ำมูกไหล หัวสั่น กระตุก ขาและปีกเป็นอัมพาต คอบิด เดินเป็นวงกลม หัวซุกใต้ปีก สำหรับแม่ไก่ที่กำลังให้ไข่จะไข่ลดลงทันที่ และมักจะตายภายใน 3-4 วัน หลังจากแสดงอาการป่วย
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนลาโซตาเชื้อเป็น และลาโซตาเชื้อตาย ดูวิธีการใช้จากตารางการทำวัคซีนท้ายเล่ม
โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นโรคทางเดินหายใจที่แพร่หลายที่สุด เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้กับไก่ทุกอายุ แต่มักจะมีความรุนแรงในลูกไก่ มีอัตราการตายสูงมาก ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ อ้าปากและโก่งคอเวลาหายใจ หายใจลำบาก เวลาหายใจมีเสียงครืดคราดในลำคอ ไอ น้ำมูกไหล ตาแฉะ เซื่องซึม เบื่ออาหาร ในไก่จะไข่ลดลงอย่างกะทันหัน
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ
โรคอหิวาต์ไก่ เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายทางอาหารและน้ำ ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหงอย ซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด ท้องร่วง อุจจาระมีสีเหลือง เหนียงมีสีคล้ำกว่าปกติ ถ้าไก่เป็นโรคนี้อย่างร้ายแรง ไก่อาจตายโดยไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น
การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ คลอเตตร้าซัยคลิน หรือออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือใช้ยาประเภทซัลฟา เช่น ซัลฟาเมอราซีน หรือซัลฟาเมทธารีน
การป้องกัน โดยการให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์


โรคฝีดาษไก่ เป็นโรคที่มักเป็นกับลูกไก่และไก่รุ่น ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อกันโดยการสัมผัส เช่น อยู่รวมฝูงกัน และยุงเป็นพาหะของโรคกัด โรคนี้ไม่แสดงอาการป่วยถึงตาย ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการมีจุดสีเทาพองตามบริเวณใบหน้า หงอน เหนียง และผิวหนัง และเมื่อจุดพองขยายตัวและแตกออกเป็นสะเก็ดลูกไก่จะหงอยซึม ไม่กินอาหารและตายในที่สุด
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษไก่



โรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อเป็นโรคทางเดินหายใจ มักเป็นกับไก่ใหญ่ อายุ 3-4 เดือนขึ้นไป ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการหายใจไม่สะดวก ยื่นคอและศีรษะตรงไปข้างหน้า อ้าปากเป็นระยะๆ และหลับตา ไก่จะตายเพราะหายใจไม่ออก
การป้องกัน การจัดการสุขาภิบาลที่ดี และป้องกันไม่ให้ลมโกรก และการให้วัคซีนป้องกันโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ



โรคมาเร็กซ์ เป็นโรคที่มักเป็นกับไก่รุ่น ไก่สาว ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ที่สะสมอยู่ที่หนังไก่บริเวณโคนขนของไก่ป่วยเป็นแผ่นเล็กๆ คล้ายขี้รังแค ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการหงอยซึม การเจริญเติบโตไม่ได้ขนาด ในกรณีที่เป็นอัมพาต ไก่จะอ่อนเพลีย กินน้ำกินอาหารไม่ได้ การทรงตัวไม่ปกติ เดินขาลาก แล้วเป็นอัมพาตเดินไม่ได้
การป้องกัน การสุขาภิบาล และการเลี้ยงดูที่ดีไม่ให้ไก่เครียด และการให้วัคซีนป้องกัน
โรคมาเร็กซ์