ยินดีต้อนรับเข้าสู่คลังปัญญาความรู้เกี่ยวกับไก่ หากมีข้อมูลใดผิดพลาดก็ขออภัยมาในที่นี้ด้วย ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาชมนะคร้บ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

นอกจากเลี้ยงไก่แล้วได้ไข่ได้อะไรอีก...

อันดับแรกมารู้จักปุ๋ยขี้ไก่กันนะค่ะ
คุณลักษณะเด่น 10 ประการ ของปู่๋ยขี้ไก่อัดเม็ด 
1. ไม่มีกลิ่นเหม็น จริงๆก็มีกลิ่นเหม็นนิดหน่อย (ก็ขี้ไก่นี่นา) แต่ปุ๋ยเรากลิ่นน้อยมากครับ ผ่านการอบไอน้ำ อบแห้ง ดูดกลิ่น ดูดความชื้น
2. ระยะเวลาเก็บ เก็บไว้ได้นาน 6 เดือนสบายๆ โดยห้ามโดนน้ำเป็นสำคัญ ส่วนปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ดทั่วไปเก็บได้ 2 เดือนก็ถือว่าเก่งแล้ว
3. คุณภาพ ปุ๋ยเราคุณภาพใกล้เคียงปุ๋ยเคมี ผ่านการทดสอบร่วมกับเกษตรกรแล้วมากกว่า 3 ปีได้ผลผลิตใกล้เคียงมาก ส่วนพื้นที่ที่เป็นดินทราย ปุ๋ยขี้ไก่เราได้ผลผลิตมากกว่าปุ๋ยเคมีเกือบ 50%
4. ไม่เป็นเชื้อรา ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ดเรา มีการเพิ่มสารป้องกันเชื้อรา และเป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถใช้ได้ดีกับพืชที่แพ้เชื้อราง่าย เช่น ยางพาราและพืชผัก ต่างๆ
5. เม็ดปุ๋ยเนื้อแน่น เม็ดสวย เนื้อแน่น ไม่แตกยุ่ยง่ายทำให้พืชได้รับสารอาหารระยะเวลายาวนานขึ้น เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตรึงอากาศที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้นานขึ้น 



6. ปลอดภัยจากเชื้อโรค เพราะผ่านการฆ่าเชื้อ และหมักจนได้ที่ยาวนานกว่า 6 เดือน ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยขบวนการอบไอน้ำ และอบแห้ง อีกทั้งวัตถุดิบก็มาจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
7. ไม่ทำลายหน้าดิน ปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิดเป็นประโยชน์ต่อหน้าดิน ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นเพราะจะทำให้ดินโปร่งร่วนซุย อุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อพืชในการปลูกครั้งต่อๆไป อีกทั้งปุ๋ยขี้ไก่ไม่มีวัชพืช เหมือนปุ๋ยจากมูลสัตย์อื่นๆ ที่มีวัชพืชติดมาด้วย ต้องเสียแรงในการบำรุงรักษาเพิ่มเติม
8. มีมาตรฐานรับรอง เนื่องจากโรงงานเราผ่านการจดลิขสิทธิ์และตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตจากกรมวิชาการเกษตรอินทรีย์ แผนใหม่โดยตรง ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการหลัก เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น
9. เครื่องจักรทันสมัย เป็นเครื่องอัดขนาดใหญ่มาตรฐานยุโรป(EU) ต่างจากที่อื่นที่ลงทุนโดยใช้เครื่องจักรขนาดเล็ก
10. สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ด้วย เป็นการส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนี้
จากเดิมใช้ปุ๋ยเคมี 2 ถุง เปลี่ยนเป็นใช้ปุ๋ยเคมี 1 ถุง ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ดเรา 1 ถุงครึ่ง หรือหากต้องการประหยัด ไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีก็ได้ เนื่องจากคุณภาพปุ๋ยเราใกล้เคียงกับปุ๋ยเคมี โดยใช้ในปริมาณที่มากขึ้น 50% ก็ได้ผลใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยเคมี

ราคาขายโดยทั่วไปขนาดบรรจุ  50 กก.  ราคา 250 บาท
ขนาดบรรจุ 25 กก.  ราคา  125 บาท

พาเที่ยวฟาร์มไก่ไข่กับกบนอกกะลา

              เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนมีอุณหภูมิของอากาศค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงสัตว์มักสร้างโรงเรือนเป็นโรงเรือนเปิด ทั้งนี้เพื่อต้องการให้อากาศภายในโรงเรือนมีการ หมุนเวียนและระบายอากาศเป็นการลดความร้อนภายในโรงเรือนได้ดี โรงเรือนเปิดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อุณหภูมิของโรงเรือนจะผันแปรไปตามสภาพของอากาศภายนอกโรงเรือน ช่วงหน้าร้อนอากาศ จะร้อนมาก สัตว์เลี้ยงบางชนิด เช่น ไก่เนื้อ อาจทนอากาศร้อนไม่ไหว wwเพื่อหลีกเลี่ยงจากอากาศร้อนและต้องการควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนจึงได้มีการคิดค้นโรงเรือนระบบปิดขึ้นโดยใช้หลักการระบายความร้อนด้วยน้ำและใช้พัดลมเป็นตัวถ่ายเทอากาศ โดยมีแผ่นรังผึ้ง (cooling pad) ที่ปล่อยน้ำไหลผ่านจนเปียกชุ่ม เมื่อเดินพัดลมซึ่งอยู่ในแนวตรงกันข้ามกับแผ่นรังผึ้งอากาศภายนอกจะถูกดูดผ่านแผ่นรังผึ้งเข้าภายในโรงเรือน ภายในโรงเรือนจะเย็นสบายโดยใช้หลักการระเหยของน้ำ นอกจากนี้โรงเรือนระบบปิดยังสามารถป้องกันโรคได้อย่างดีโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก




                ผู้เข้ามาติดตามสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในฟาร์มหรือการเริ่มต้นทำฟาร์มได้โดยการศึกษาจากวิดีโอข้างบนนี้  ซึ่งสามารถติดตามชมในภาคที่ 3 และ 4 ได้ในเว็บยูทูปต่อไปนะค่ะ

ไข่ หรือ ไก่ อะไรเกิดก่อนกัน

รายงานข่าวล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษประกาศว่า พวกเขาพบคำตอบของปัญหาโลกแตกนี้แล้ว ซึ่งก็คือ "ไก่" เกิดก่อน โดยนักวิจัยได้บันทึกคำตอบดังกล่าวลงในรายงานที่มีการเผยแพร่ออกมาแล้วว่า โปรตีนชื่อ ovocledidin-17 เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ไข่มีเปลือกแข็งอย่างที่เห็น และด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ โปรตีนที่จำเป็นดังกล่าวจะสามารถผลิตได้จากในตัวไก่เท่านั้น ดังนั้นไข่จึงไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีไก่ได้  
"มันเป็นเวลานานแล้วที่เราสงสัย ว่า ไข่น่าจะเกิดก่อนไก่ แต่ตอนนี้ เราได้ข้อพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงแล้วว่า ไก่เกิดก่อน" ดร.โคลิน ฟรีแมน จากสาขาวัสดุวิศวกรรม (Department of Engineering Materials) มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ กล่าว ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การค้นพบคำตอบดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการหาคำตอบของอายุของพวกมันว่าเกิดมา นานเท่าไรแล้วได้อีกด้วย
โดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์โครง สร้างโมเลกุลของเปลือกไข่ ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ และวอร์วิคพบว่า โปรตีน OC-17 ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น และเริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนสภาพของแคลเซียมคาร์บอเนตจากในตัวไก่ให้อยู่ใน รูปของเปลือกแข็งที่ใช้ห่อหุ้มไข่แดงและไข่ขาว ซึ่งหากไม่มีไก่ขั้นตอน หรือกระบวนการนี้ก็จะไม่อาจเกิดขึ้นได้ 
"การเข้าใจว่า ไก่สามารถสร้างเปลือกไข่ได้จากในตัวมันเองได้อย่างไร ยังทำให้เราได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการออกแบบวัสดุ และกระบวนการผลิตใหม่ๆ อีกด้วย" ศาสตราจารย์ จอห์น ฮาร์ดิง จากมหาวิทยลัยเชฟฟิลด์ กล่าว "ธรรมชาติพบคำตอบที่เป็นนวตกรรมที่สามารถนำมาแก้ปัญหาได้ทุกอย่างในเรื่อง ของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางด้านวัสดุ เราสามารถเรียนรู้อะไรได้อีกมากมายจากการค้นพบนี้"

คุณประโยชน์จากไข่ไก่

 ไข่ไก่  เป็นอาหารที่ สมบูรณ์ บริสุทธิ์ เป็นแหล่งอาหารที่ดี
 ส่วนประกอบสำคัญของไข่     คือ โปรตีน โดยมีกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตถึง 10 ชนิด และยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญอีก 13 ชนิด

 ส่วนประกอบของฟองไข่
เปลือกไข่     ประกอบด้วย แคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ เปลือกไข่มีรูเล็ก ๆ มากกว่า 17,000 รู
ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าสารเคลือบผิวป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าฟองไข่
ไข่ขาว     เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ มีลักษณะข้นและใส ส่วนที่ข้นอยู่ใกล้ไข่แดง
แต่เมื่อเก็บนานขึ้นความข้นจะลดลง ไข่ขาวทำหน้าที่พยุงให้ไข่แดงอยู่คงที่
ช่วยรองรับแรงกระเทีอนไม่ให้ไข่แดงแตกตัว


ไข่แดง     มีคุณค่าอาหารสูง ประกอบด้วยไขมัน และโปรตีนเล็กน้อย วิตามิน เอ ดี อี เกลือแร่
แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม และมีสังกะสี ไอโอดีน และ ซีลีเนียม สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบีโฟเลต ไขมันไม่อิ่มตัวสีของไข่แดงขึ้นอยู่กับการกินอาหาร
ของแม่ไก่
ข้อควรระวัง 
     การบริโภคไข่ดิบ หรือไข่เน่าเสีย จะทำให้เกิดอาการ อาหารเป็นพิษได้ สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา
ดังนั้น ควรปฏิบัติกับไข่ที่จะนำมาบริโภคดังนี้
1. ควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
2. ควรบริโภคไข่ให้หมดภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากซื้อ
3. ล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัสไข่
4. เช็ดเปลือกไข่ที่สกปรกให้สะอาด
5. ไม่ควรบริโภคไข่ที่เปลือกไข่แตก หรือ บุบ ร้าว
6. ไม่บริโภคไข่ที่หมดอายุ หากไม่แน่ใจ ให้ทดสอบโดยนำไข่ไปลอยน้ำ
    หากไข่จมแสดงว่าไข่ยังสดอยู่    แต่ถ้าลอยหรือมีกลิ่นแสดงว่าไข่เน่าเสีย
     คำแนะนำในการบริโภคไข่ไก่ให้เป็นประโยชน์
1. เด็ก ๆ ควรรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง
2. วัยหนุ่มสาวควรบริโภคไข่ไก่ไม่เกินวันละ 2 ฟอง
3. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรบริโภคไข่ไก่ไม่เกิน วัน ละ 1 ฟอง
4. แต่สำหรับชายวัยฉกรรจ์ไข่ไก่มีประโยชน์อย่างยิ่ง
    - ไข่ไก่ช่วยให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่า กระชุ่มกระชวย
      ช่วยให้พลังงานกับร่างกายอย่างเต็มที่
    - ไข่ไก่ช่วยทดแทนพลังงานที่ร่างกายสูญเสียไป

   ไข่กับเลซิติน 
     เลซิติน พบมากในไข่แดง และเมล็ดถั่ว เป็นไขมันในรูปของสารประกอบฟอสโฟลิปิด เลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อเซลล์ประสาท
เลซิติน ช่วยการย่อยและขนส่งไขมัน ทำให้เกิดเป็นพลังงานและใช้ไขมัน และเป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์จากตับ ซึ่งช่วยให้สามารถรับคลอเลสเตอรอลจากร่างกายกลับเข้าสู่ตับได้มากขึ้น ช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย เป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างโคลีน ซึ่งมีผลในการเสริมสร้างความจำและลดอาการหลงลืม
 เลซิตินเหมาะสำหรับ
1. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดัน
2. ผู้ที่มีระดับคลอเลสเตอรอลสูง
3. ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างความจำ
4. ผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการหลงลืม
5. เด็กที่อยู่ในวัยเรียน
6. ผู้ที่ทำงานใช้สมองเคร่งเครียด

 ไข่กับโคเลสเตอรอล 
     คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการกินไข่มาก ๆ ทำให้ปริมาณคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งที่ไข่ประกอบด้วย คลอเลสเตอรอล
200 มิลลิกรัม ในแต่ละวัน ร่างกายต้องการคลอเรสเตอรอลจากอาหารวันละ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นการกินไข่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดเพียงเล็กน้อย และบางครั้งการกินไข่ อาจไม่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดมากเท่ากับการกินเนื้อสัตว์ที่มีปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัวสูง

การเลือกไข่ไก่




การเก็บรักษาไข่ควรปฏิบัติดังนี้

  1. เลือกเก็บเฉพาะไข่ที่ออกใหม่และเปลือกสะอาด หากเปลือไข่ไม่สะอาดอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ติดอยู่ที่เปลือของไข่ทำให้ จุลินทรีย์อาจซึมเข้าไปข้างในไข่ทำให้ไข่เสียง่าย
  2. ไม่ควรล้างไข่ก่อนถึงเวลาประกิบอาหาร การล้างไข่มิได้ทำใ้ห้ไข่เสีย แต่จะล้างเมือกที่เคลือบรอลเปลือกไข่ออกทำให้แ๊สและน้ำระเหขออกจากฟองไข่มากขึ้นและจุลินทรีย์เข้าไปในไข่มากขึ้น ถ้าจำเป็นต้องล้างควรทาน้ำมันพืชที่เปลือกไข่ จะช่วยให้เก็บได้นานขึ้น
  3. เก็บไข่ใว้ในอุณหภูมิต่ำ หากเก็บใว้ในอุณหภูมิปกติเพียง 3 วัน จะเสียเร็ว
  4. หากเก็บไข่ในภาชนะก็ควรเป็นภาชนะที่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำและแก็ส
    ออกจากไข่ และควรเก็บในที่ปราศจากกลิ่นอับ เหม็น มิฉะนั้นไข่จะดูดกลิ่นเข้าไปทางรูเปลือกได้
  5. เวลาเก็บควรตั้งด้านแหลมขึ้นด้านบนเสมอ 
เบอร์ไข่ไก่


น้ำหนักไข่ 71 กรัม ขึ้นไป เบอร์ 0 
น้ำหนักไข่  65-70 กรัม   เบอร์ 1 
น้ำหนักไข่  60-64 กรัม   เบอร์ 2 
น้ำหนักไข่  55-59 กรัม   เบอร์ 3
น้ำหนักไข่  50-54 กรัม   เบอร์ 4 
น้ำหนักไข่  45-49 กรัม   เบอร์ 5 

โรคไข้หวัดนก

             โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ทำอันตรายต่อสัตว์ปีกมานานหลายปี มักพบในไก่ไข่ ไก่เนื้อ ไก่งวง ไก่ต๊อก เป็ด ห่าน นกกระทา นกทะเล นกตามชายฝั่ง และสัตว์ปีกอื่นๆ โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำที่มีการอพยพระหว่างประเทศ ซึ่งนกเป็ดน้ำจะมีความต้านทานต่อโรคไข้หวัดนกสูงกว่าสัตว์ปีกชนิดอื่น

ความหมายของเชื้อไข้หวัดนก
             โรคไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัส มีเปลือกหุ้ม และส่วนที่ยื่นออกมาของ Glycoprotein ซึ่งเป็น Surface antigen เรียกว่า Hemagglutinin (H) จำนวน 15 ชนิด และ Neuraminidase (N) จำนวน 9 ชนิด
เชื้อชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่ม Influenza type A (ปกติจะมี 3 type) การกำหนดว่าเป็นชนิดอะไร (A B C) ขึ้นอยู่กับ M protein บนเปลือกหุ้มไวรัส และ Nucleoprotein
             Influenza type A เกิดขึ้นในสัตว์เกือบทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์
             Influenza type B C ไม่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
 การติดต่อของเชื้อ
            ส่วนมากนกเป็ดน้ำจะเป็นพาหนะนำโรค โดยที่เชื้อจะอยู่ในส่วนของลำไส้ และแพร่กระจายออกมากับอุจจาระ น้ำมูก สิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ดิน พืช  สัตว์ปีกทุกชนิดสามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก ทางเยื่อบุต่างๆ หรือทางบาดแผล  โดยเชื้อมักปนเปื้อนมากับน้ำ อาหาร หรือกระจายฟุ้งไปในอากาศ
 การติดเชื้อในสัตว์ปีกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
            1. Highly Pathogenic Avian Influenza (HPAI) เป็นการติดเชื้อชนิดรุนแรง พบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม H5 และ H7 บางตัว บางตัว อาทิ  H5N1, H7N7
            2. Low Pathogenic Avian Influenza (LPAI) เป็นการติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง มักพบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม H1 - H15
   ระยะฟักตัว
            ระยะฟักตัวในสัตว์ปีกตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ถึง 3 วัน แต่สำหรับฝูงสัตว์ใหญ่อาจมากถึง 14 วัน

ลักษณะการแพร่กระจายของเชื้อ
            1. การแพร่กระจายระหว่างสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง
            เชื้อจะพบในอุจจาระของสัตว์ที่ติดเชื้อมาแล้วนาน 7-14 วัน หรือ มากกว่า 14 สัปดาห์ เชื้อชอบสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้น และอุณหภูมิต่ำ จะสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะในปุ๋ยคอก  การแพร่กระจายระหว่างฟาร์ม เกิดจาก การเดินเข้าออกในฟาร์มโดยไม่ผ่านการล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ การทิ้งขยะ หนู สัตว์ฟันแทะอื่นๆ แมลงวัน นกป่า โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำ  นอกจากนี้ เชื้ออาจถูกพบบนเปลือกไข่ทั้งชั้นนอกและชั้นใน ซึ่งอาจแพร่เชื้อระหว่างการนำเข้าไปยังตู้ฟักได้ การพัดของลมไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังฟาร์มอื่นได้ ส่วนใหญ่การแพร่เชื้อระหว่างฟาร์มเกิดจากการเคลื่อนย้ายรถ คน เครื่องมืออุปกรณ์ระหว่างฟาร์ม
            2. การแพร่กระจายระหว่างสัตว์ปีก
            การแพร่โรคระหว่างสัตว์ปีกหรือในฝูงสัตว์ปีก มักพบผ่านทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะฟุ้งกระจายในอากาศ ซึ่งมาจากน้ำคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค  นอกจากนี้ ยังมาจากการสัมผัสอุจจาระสัตว์ป่วย
            3. การแพร่กระจายโรคจากสัตว์สู่คน
            มนุษย์สามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก บาดแผลผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเชื้อมักจะปนเปื้อนมากับอุจจาระ น้ำคัดหลั่งของสัตว์ป่วย กลุ่มเสี่ยงได้แก่คนที่ทำงานในฟาร์ม คนเชือดไก่ คนเลี้ยงสัตว์ปีก คนเชือดไก่ คนที่เดินผ่านตลาดซื้อขายสัตว์ปีก คนที่สัมผัสเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อน คนที่สัมผัสไข่ไก่ที่ปนเปื้อนเชื้อ สามารถได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
อาการของสัตว์ป่วย
            -  ตายอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่สามารถสังเกตอาการได้
            -  มีน้ำมูก ไอจาม หลอดลมอักเสบ ผอมแห้ง เบื่ออาหาร ท้องเสีย
            -  ไข้ลด ไข่นิ่ม มีรูปร่างผิดปกติ
            -  เหนียงบวม หงอนบวม หน้าบวม เปลือกตาบวม ข้อบวม หลอดลมบวมน้ำ
            -  มีจุดเลือดออกสีแดงคล้ำบริเวณ เหนียง หงอน และขา ของสัตว์ปีก
            -  การเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชักกระตุก
โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดของไก่ในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การแพร่ะระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยการหายใจเอาเชื้อ หรือกินน้ำ อาหารที่มีเชื้อปนเข้าไป จากอุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย และสิ่งขับถ่ายอื่นๆ ของไก่ป่วย ไก่ที่ป่วยจะมีอาการทางระบบหายใจและระบบประสาท เช่น หายใจลำบาก มีเสียงดังเวลาหายใจ มีน้ำมูกไหล หัวสั่น กระตุก ขาและปีกเป็นอัมพาต คอบิด เดินเป็นวงกลม หัวซุกใต้ปีก สำหรับแม่ไก่ที่กำลังให้ไข่จะไข่ลดลงทันที่ และมักจะตายภายใน 3-4 วัน หลังจากแสดงอาการป่วย
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนลาโซตาเชื้อเป็น และลาโซตาเชื้อตาย ดูวิธีการใช้จากตารางการทำวัคซีนท้ายเล่ม
โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นโรคทางเดินหายใจที่แพร่หลายที่สุด เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้กับไก่ทุกอายุ แต่มักจะมีความรุนแรงในลูกไก่ มีอัตราการตายสูงมาก ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ อ้าปากและโก่งคอเวลาหายใจ หายใจลำบาก เวลาหายใจมีเสียงครืดคราดในลำคอ ไอ น้ำมูกไหล ตาแฉะ เซื่องซึม เบื่ออาหาร ในไก่จะไข่ลดลงอย่างกะทันหัน
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ
โรคอหิวาต์ไก่ เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายทางอาหารและน้ำ ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหงอย ซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด ท้องร่วง อุจจาระมีสีเหลือง เหนียงมีสีคล้ำกว่าปกติ ถ้าไก่เป็นโรคนี้อย่างร้ายแรง ไก่อาจตายโดยไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น
การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ คลอเตตร้าซัยคลิน หรือออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือใช้ยาประเภทซัลฟา เช่น ซัลฟาเมอราซีน หรือซัลฟาเมทธารีน
การป้องกัน โดยการให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์


โรคฝีดาษไก่ เป็นโรคที่มักเป็นกับลูกไก่และไก่รุ่น ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อกันโดยการสัมผัส เช่น อยู่รวมฝูงกัน และยุงเป็นพาหะของโรคกัด โรคนี้ไม่แสดงอาการป่วยถึงตาย ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการมีจุดสีเทาพองตามบริเวณใบหน้า หงอน เหนียง และผิวหนัง และเมื่อจุดพองขยายตัวและแตกออกเป็นสะเก็ดลูกไก่จะหงอยซึม ไม่กินอาหารและตายในที่สุด
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษไก่



โรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อเป็นโรคทางเดินหายใจ มักเป็นกับไก่ใหญ่ อายุ 3-4 เดือนขึ้นไป ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการหายใจไม่สะดวก ยื่นคอและศีรษะตรงไปข้างหน้า อ้าปากเป็นระยะๆ และหลับตา ไก่จะตายเพราะหายใจไม่ออก
การป้องกัน การจัดการสุขาภิบาลที่ดี และป้องกันไม่ให้ลมโกรก และการให้วัคซีนป้องกันโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ



โรคมาเร็กซ์ เป็นโรคที่มักเป็นกับไก่รุ่น ไก่สาว ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ที่สะสมอยู่ที่หนังไก่บริเวณโคนขนของไก่ป่วยเป็นแผ่นเล็กๆ คล้ายขี้รังแค ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการหงอยซึม การเจริญเติบโตไม่ได้ขนาด ในกรณีที่เป็นอัมพาต ไก่จะอ่อนเพลีย กินน้ำกินอาหารไม่ได้ การทรงตัวไม่ปกติ เดินขาลาก แล้วเป็นอัมพาตเดินไม่ได้
การป้องกัน การสุขาภิบาล และการเลี้ยงดูที่ดีไม่ให้ไก่เครียด และการให้วัคซีนป้องกัน
โรคมาเร็กซ์


โปรแกรมวัคซีนไก่ไข่


ชนิดวัคซีนอายุไก่วิธีใช้ขนาดวัคซีนระยะคุ้มโรค
นิวคาสเซิล
(ชนิดหยอดจมูก)
1-7 วันหยอดจมูก1-2 หยดควรทำครั้งที่สองเมื่อไก่อายุ 21 วัน
นิวคาสเซิล21 วันหยอดจมูก1-2 หยดควรทำวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดแทง
ปีกอีกครั้งเมื่อไก่ อายุ 3 เดือน
นิวคาสเซิล
(ชนิดแทงปีก)
3 เดือนใช้เข็มคู่แทงปีก1 ครั้ง6 เดือน
ฝีดาษไก่7 วันใช้เข็มคู่แทงปีก1 ครั้ง1 ปี
อหิวาห์ไก่ตั้งแต่ 1 เดือนฉีดเข้ากล้ามเนื้อ1 ซี.ซี.3 เดือน ฉีดซ้ำทุก 3 เดือน
หลอดลมอักเสบ14 วันหยอดจมูก1-2 หยด3 เดือน ทำซ้ำทุก 3 เดือน
ห้ามใช้วัคซีนนี้พร้อมกับวัคซีน
นิวคาสเซิล ควรใช้วัคซีนชนิดนี้
ห่างกันไม่น้อยกว่า 1 อาทิตย์
ข้อควรปฏิบัติในการทำวัคซีน 
1. อายุของไก่และระยะเวลาในการทำวัคซีนจะมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของไก่เป็นอย่างมาก ดังนั้นในการทำวัคซีนจึงควรทำตามกำหนดเวลาอย่างถูกต้อง
2. สุขภาพของไก่ขณะที่ทำวัคซีนจะต้องมีความสมบูรณ์ แจ่มใส แข็งแรง ไม่เป็นโรคระบาด และต้องปลอดภัยจากพยาธิ เพราะอาจจะทำให้การทำวัคซีนไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทั้งอาจทำให้ไก่ป่วยมีอาการขั้นรุนแรงได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของไก่และอาการแทรกซ้อนต่างๆ จึงควรให้ยาปฏิชีวนะหรือไวตามิน 3 วันติดต่อกัน กล่าวคือ ก่อนและหลังทำวัคซีน 1 วัน และในวันทำวัคซีนอีก 1 วัน
3. วัคซีนที่ใช้ต้องไม่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ และควรซื้อวัคซีนจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
4. การเก็บรักษาวัคซีน จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นจัด เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น หรือตามคำแนะนำของการใช้วัคซีนนั้น การขนส่งจะต้องบรรจุในกระติดน้ำแข็งผสมเกลือ และควรระวังอย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงอาทิตย์ เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อมสภาพได้
5. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำวัคซีนทุกชิ้นจะต้องได้รับการทำความสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อ อาจเป็นวิธีต้ม นึ่งไอน้ำ แล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง ในกรณีที่ทำวัคซีนละลายน้ำ ควรล้างภาชนะต่างๆ ให้สะอาดก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง
6. ในการผสมวัคซีน จะต้องผสมในอัตราที่ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อผสมเสร็จแล้วควรรีบใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง
7. วัคซีนที่ผสมแล้วเหลือใช้ รวมทั้งหลอดหรือขวดบรรจุวัคซีน ก่อนทิ้งควรผ่านการต้มฆ่าเชื้อเสียก่อน 

การให้อาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ

1. ไก่เล็ก - ไก่รุ่น
         การเลี้ยงลูกไก่ในระยะแรกผู้เลี้ยงควรหมั่นดูแลเอาใจใส่และเติมอาหารในรางให้ลูกไก่มีกินได้ตลอดเวลาเพราะถ้าลูกไก่ ได้รับ อาหารไม่พอจะทำให้อ่อนแอและโตช้า การให้อาหารลูกไก่ในช่วง 2-3 วันแรกควรใช้วิธีโรยอาหารบนกระดาษหรือถาดใต้เครื่องกก เพื่อช่วยให้ลูกไก่กินอาหารได้เร็วขึ้น ในระยะไก่เล็ก-รุ่นนี้ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และเตรียมโครงสร้างของร่างกายให้มีขนาดใหญ่ สามารถเก็บสะสมพลังงานสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น

2. ไก่ไข่สาว
         การให้อาหารแก่ไก่ไข่สาวนั้น ไม่ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่ ควรมีการจำกัดอาหารที่ให้โดยเริ่มเมื่อไก่อายุได้ 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสุขภาพความสมบูรณ์ของไก่ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวไก่ให้มีขนาดตามสายพันธุ์ที่บริษัทผู้ผลิตไก่แนะนำหรือได้น้ำหนักตามมาตรฐานที่แสดงไว้ในตาราง 1 โดยสุ่มไก่จากส่วนต่างๆ ของคอก จาก 10% ของฝูงมาชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ ไก่รุ่นก่อนไข่ที่ปล่อยให้อ้วนและมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะให้ไข่เร็วแต่ให้ไข่ไม่ทน ข้อควรระวังในการจำกัดอาหารคือต้องจัดรางอาหารให้มีเพียงพอให้ไก่กินทุกวัน และพยายามกระจายอาหารให้ทั่วถึงภายในเวลาอันรวดเร็วเพื่อให้ไก่ได้กินอาหารเท่าๆ กันและมีขนาดสม่ำเสมอกัน และสิ่งที่สำคัญอีอย่างหนึ่งคือ ถ้าไก่มีน้ำหนักมากเกินไปไม่ควรลดอาหารที่ให้กิน ให้ใช้วิธีชะลอการเพิ่มปริมาณอาหารไว้จนกว่าไก่จะมีน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน
3. ไก่ไข่ระยะให้ไข่
          ปริมาณการกินอาหารของไก่ไข่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อัตราการไข่ น้ำหนักตัวไก่และอุณหภูมิแวดล้อม เป็นต้น เกษตรกรอาจคิดคำนวณปริมาณอาหารที่ให้กินในแต่ละวันดังนี้
1. ให้อาหารสำหรับการดำรงชีพ วันละ 63 กรัม สำหรับตัวไก่ไข่ที่มีน้ำหนักตัว 2 กก. และเลี้ยงแบบปล่อยพื้นคอกภายในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิแวดล้อม 25  ํC
2. ให้อาหารเพิ่มวันละ 7 กรัม สำหรับอัตราการไข่ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10% โดยเริ่มจากอัตราการไข่ 0%
3. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.2 กรัม สำหรับน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง ทุกๆ 50 กรัม จากน้ำหนัก 2 กก.
4. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.4 กรัม เมื่ออุณหภูมิลดลง/สูงขึ้น ทุกๆ 1 ํC จากอุณหภูมิ 25  ํC
5. ให้อาหารลดลง วันละ 5 กรัม ถ้าเป็นการเลี้ยงบนกรงตับ
6. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1 กรัม สำหรับระดับพลังงานในอาหารที่ลดลง/เพิ่มขึ้น ทุกๆ 50 กิโลแคลอรี่/กก. จากระดับพลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,750 กิโลแคลอรี่/กก. ในสูตรอาหาร


ไก่สาวและไก่ไข่

การเลี้ยงดูไก่สาว (อายุ 15-20 สัปดาห์)
             1. เมื่อไก่อายุ 15 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่รุ่นเป็นไก่ไข่สาว
             2. ควบคุมและกำจัดแมลงรบกวนต่างๆ
            3. หมั่นตรวจสุขภาพไก่ ทำวัคซีนตามกำหนด และสุ่มชั่งน้ำหนักไก่จำนวน 5% ของฝูงทุกสัปดาห์
           4. ในกรณีที่เลี้ยงแบบรวมฝูงเมื่อไก่อายุ 17-18 สัปดาห์ ควรติดตั้งรังไข่ ขนาดช่องล่ะ 8x12 นิ้ว ในอัตรา 1 ช่องต่อไก่ 4 ตัว
          5. ในกรณีที่เลี้ยงแบบกรงตับ ให้ย้ายไก่ขึ้นกรงตับเมื่ออายุ 18-20 สัปดาห์
          6. ควรมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดี เพราะไก่กำลังจะเริ่มให้ผลผลิต ในการเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 20 สัปดาห์ อัตราการตายและคัดทิ้งไม่ควรเกิน 10%
         7. ก่อนที่ทำการย้ายไก่ขึ้นกรงตับ ควรกำจัดเหาไร และถ่ายพยาธิก่อนไก่เริ่มให้ไข่ประมาณ 3-4 สัปดาห์
        8. จดบันทึกลักษณะเดียวกับไก่รุ่น

การเลี้ยงดูไก่ไข่ (อายุ 21-72 สัปดาห์)
            1. เมื่อไก่เริ่มไข่ได้ 5% ของฝูง ควรเปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่สาวเป็นไก่ไข่
            2. การให้อาหารต้องเพียงพอกับความต้องการของไก่ และการให้ผลผลิตของไก่
            3. ไก่ไข่จะให้ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะสูงสุดในช่วงอายุ 25-30 สัปดาห์ และจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้า
           4. ในกรณีเลี้ยงแบบกรงตับต้องจดบันทึกการไข่ทุกวัน เพื่อสะดวกในการคัดไก่ที่ไม่ให้ไข่ออกจากฝูง หรือถ้าเลี้ยงแบบปล่อยฝูงก็ต้องจดบันทึกจำนวนไข่ทุกวัน เพื่อคิดเปอร์เซนต์การไข่
           5. การเก็บไข่ ควรเก็บด้วยความระมัดระวัง ใส่ในแผงไข่ที่สะอาด คัดแยกขนาดไข่และไข่บุบร้าว และเก็บไข่อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง สำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยฝูง
          6. หมั่นตรวจดูวัสดุรองพื้นทั้งที่พื้นและในรังไข่ อย่าให้ชื้นแฉะ หรือจับเป็นแผ่นแข็ง หาก สกปรกมากควรเปลี่ยนใหม่
         7. ด้านการสุขาภิบาลทำลักษณะเดียวกับไก่รุ่น
         8. ข้อพึงระวังกรณีที่ฝูงไก่กินอาหารลดลงผิดปกติ อาจเกิดจากความเครียดหรือเจ็บป่วย ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ถ้าแก้ไขเองไม่ได้ควรปรึกษาสัตวแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญทันที การเลี้ยงไก่ไข่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
        9. การให้ผลผลิตของไก่ไข่ โดยทั่วไปจะให้ไข่ประมาณ 52 สัปดาห์ แต่ในเกษตรกรบางรายสามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้นานถึง 60 สัปดาห์ ซึ่งอยู่ที่การดูแล การจัดการที่ดี
     10. การปลดไก่ไข่ออก ส่วนใหญ่จะทำเพื่อให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน เช่น ให้ผลผลิตต่ำกว่า 60% ของฝูง

การเลี้ยงไก่รุ่น

การเลี้ยงดูไก่รุ่น (อายุ 7-14 สัปดาห์)
           1. ควรจัดเตรียมพื้นที่เลี้ยงในอัตราไก่ 5-6 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร
           2. เมื่ออายุ 7 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่เล็กเป็นอาหารไก่ไข่รุ่น ให้อาหารแบบถังแขวนในอัตรา 4-5 ถังต่อไก่ 100 ตัว หมั่นปรับระดับที่ให้อาหารให้อยู่ในระดับหลังไก่เสมอ และทำความสะอาดที่ให้อาหารอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
           3. จัดเตรียมที่ให้น้ำให้เพียงพอ โดยใช้ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้ว ต่อไก่ 1 ตัว น้ำสะอาดจะต้องมีให้ไก่กินตลอดเวลา และทำความสะอาดที่ให้น้ำทุกวัน
           4. ดูแลวัสดุรองพื้นอย่าให้แฉะหรือแข็งเป็นแผ่น หรือมีกลิ่นเหม็นของแก๊สแอมโมเนีย ต้องคุ้ยและพลิกกลับอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 วัน และทำความสะอาดบริเวณโรงเรือน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชรอบโรงเรือน
          5. ชั่งน้ำหนักตัวไก่ จำนวน 5% ของฝูง ทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับค่า มาตรฐานของไก่แต่ละสายพันธุ์ เพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณอาหารที่จะให้
          6. จดบันทึกเกี่ยวกับการจัดการ จำนวนอาหาร ไก่ตาย คัดทิ้ง การใช้ยาและวัคซีน สิ่งผิดปกติ และการปฏิบัติงาน

การเลี้ยงดูไก่เล็ก

การเลี้ยงดูไก่เล็ก (อายุ 1 วัน-16 สัปดาห์)
             1. เมื่อนำลูกไก่มาถึงฟาร์มต้องนำเข้าเครื่องกกโดยเร็วที่สุด และเตรียมน้ำสะอาดพร้อมให้กินทันที ถ้าลูกไก่ยังไม่รู้จักที่ให้น้ำต้องสอนโดยการจับไก่เอาปากจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ควรผสมยาปฏิชีวนะหรือวิตามินให้ลูกไก่กินติดต่อกัน 2-3 วันแรก แต่ถ้าลูกไก่มีลักษณะนอนฟุบ อ่อนเพลียมาก ควรผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำผสมยาปฏิชีวนะในอัตรา 5-10% ในระยะ 12 ชั่วโมงแรก
             2. เมื่อลูกไก่เข้าเครื่องกกได้ 2-3 ชั่วโมง หรือลูกไก่เริ่มกินน้ำได้แล้วจึงเริ่มให้อาหารไก่ไข่เล็ก โดยโปรยลงบนถาดอาหาร พร้อมทั้งเคาะถาดเพื่อเป็นการเรียกลูกไก่ให้มากินอาหาร โดยให้กินแบบเต็มที่ ให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้งอย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง
             3. ให้แสงสว่างในโรงเรือนเพียง 1-3 วันแรกเท่านั้น เพื่อให้ลูกไก่คุ้นเคยกับสถานที่ แต่ไฟที่ให้ควรเปิดสลัวๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เดินเล่นห่างเครื่องกก ภายในเครื่องกกต้องมีแสงไฟอยู่ตลอดเวลาในระยะ 1-3 สัปดาห์
            4. หมั่นตรวจดูแลสุขภาพไก่โดยสม่ำเสมอ ตรวจอาหารและน้ำ ขวดน้ำต้องล้างและเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน เปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่ชื้นแฉะ และระวังอย่าให้ลมโกรก แต่อากาศต้องถ่ายเทได้สะดวก
            5. ขยายวงล้อมกกให้กว้างออกไปตามความเหมาะสมทุกๆ 5-7 วัน พร้อมทั้งยกเครื่องกกให้สูงขึ้นเล็กน้อย และปรับอุณหภูมิของเครื่องกกให้ต่ำลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮด์
            6. ทำวัคซีนตามกำหนด
            7. ตัดปากลูกไก่เมื่ออายุ 6-9 วัน โดยตัดปากบนออกประมาณ 1 ใน 3 ของปาก และจี้ปากล่างด้วยใบมีดร้อนๆ
            8. เมื่อกกลูกไก่ครบ 21 วัน ให้นำวงล้อมและเครื่องกกออก แต่ต้องระวังอย่าให้ลูกไก่ตื่น เพื่อป้องกันการเครียดก่อนจะเปิดวงล้อมออกต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ 
           9. การให้กรวด กรวดมีความสำคัญต่อไก่ ในการช่วยบดอาหารที่มีขนาดโตให้ละเอียดขึ้น โดยเริ่มให้ไก่กินกรวดตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยให้สัปดาห์ละครั้งๆ ละ ครึ่งกิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว
         10. ควบคุมและป้องกันสัตว์อื่นๆ ไม่ให้มารบกวน
         11. เริ่มชั่งน้ำหนักไก่จำนวน 5% ของฝูงเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ จดบันทึกปริมาณอาหาร จำนวนไก่ตาย คัดทิ้ง สิ่งผิดปกติ การปฏิบัติงาน การใช้ยาและวัคซีนเป็นประจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาและคำนวณต้นทุนการผลิต

เริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่

             ผู้เลี้ยงที่ยังไม่มีความรู้ความชำนาญงานประเภทนี้ ควรเริ่มต้นหัดเลี้ยงด้วยไก่จำนวนน้อย เพื่อศึกษาหาความรู้ความชำนาญเสียก่อน สำหรับผู้ที่มีความรู้ความชำนาญแล้ว อาจเริ่มต้นเลี้ยงตามขนาดของทุนและสถานที่ ถ้าเริ่มต้นด้วยไข่ฟัก หรือลูกไก่ ก็ย่อมลงทุนถูก หากเริ่มต้นด้วยไก่ใหญ่ ก็อาจะต้องใช้ทุนมากขึ้น โดยทั่วไปผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากระยะไหนก็ได้ อาทิเช่น
             
              1. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่มีผู้เลี้ยงนิยมกันมากเนื่องจากทุนน้อย ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง สามารถที่จะดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูงตลอดเวลา จึงทำให้ได้ฝึกฝนการเลี้ยงไก่และมีความมั่นใจในการเลี้ยงไก่มากขึ้น แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยากและใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง อีกทั้งยังต้องเสี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ และจะต้องรอไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 22 สัปดาห์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไข่

           2. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน โดยการที่ผู้เลี้ยงซื้อไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ - 2 เดือน มาจากฟาร์มหรือบริษัทที่รับเลี้ยงลูกไก่ เนื่องจากลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนัก และสามารถตัดปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูลูกไก่และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงดูก็ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรก จึงสมควรเริ่มเลี้ยงด้วยวิธีนี้

 


           3. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะกับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องลงทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่นำมาเลี้ยงเสมอ เพราะช่วงที่ไก่ยังเป็นลูกไก่และไก่รุ่นผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้