ยินดีต้อนรับเข้าสู่คลังปัญญาความรู้เกี่ยวกับไก่ หากมีข้อมูลใดผิดพลาดก็ขออภัยมาในที่นี้ด้วย ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาชมนะคร้บ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคไข้หวัดนก

             โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ทำอันตรายต่อสัตว์ปีกมานานหลายปี มักพบในไก่ไข่ ไก่เนื้อ ไก่งวง ไก่ต๊อก เป็ด ห่าน นกกระทา นกทะเล นกตามชายฝั่ง และสัตว์ปีกอื่นๆ โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำที่มีการอพยพระหว่างประเทศ ซึ่งนกเป็ดน้ำจะมีความต้านทานต่อโรคไข้หวัดนกสูงกว่าสัตว์ปีกชนิดอื่น

ความหมายของเชื้อไข้หวัดนก
             โรคไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัส มีเปลือกหุ้ม และส่วนที่ยื่นออกมาของ Glycoprotein ซึ่งเป็น Surface antigen เรียกว่า Hemagglutinin (H) จำนวน 15 ชนิด และ Neuraminidase (N) จำนวน 9 ชนิด
เชื้อชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่ม Influenza type A (ปกติจะมี 3 type) การกำหนดว่าเป็นชนิดอะไร (A B C) ขึ้นอยู่กับ M protein บนเปลือกหุ้มไวรัส และ Nucleoprotein
             Influenza type A เกิดขึ้นในสัตว์เกือบทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์
             Influenza type B C ไม่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
 การติดต่อของเชื้อ
            ส่วนมากนกเป็ดน้ำจะเป็นพาหนะนำโรค โดยที่เชื้อจะอยู่ในส่วนของลำไส้ และแพร่กระจายออกมากับอุจจาระ น้ำมูก สิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ดิน พืช  สัตว์ปีกทุกชนิดสามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก ทางเยื่อบุต่างๆ หรือทางบาดแผล  โดยเชื้อมักปนเปื้อนมากับน้ำ อาหาร หรือกระจายฟุ้งไปในอากาศ
 การติดเชื้อในสัตว์ปีกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
            1. Highly Pathogenic Avian Influenza (HPAI) เป็นการติดเชื้อชนิดรุนแรง พบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม H5 และ H7 บางตัว บางตัว อาทิ  H5N1, H7N7
            2. Low Pathogenic Avian Influenza (LPAI) เป็นการติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง มักพบว่าเป็นเชื้อในกลุ่ม H1 - H15
   ระยะฟักตัว
            ระยะฟักตัวในสัตว์ปีกตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ถึง 3 วัน แต่สำหรับฝูงสัตว์ใหญ่อาจมากถึง 14 วัน

ลักษณะการแพร่กระจายของเชื้อ
            1. การแพร่กระจายระหว่างสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง
            เชื้อจะพบในอุจจาระของสัตว์ที่ติดเชื้อมาแล้วนาน 7-14 วัน หรือ มากกว่า 14 สัปดาห์ เชื้อชอบสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้น และอุณหภูมิต่ำ จะสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะในปุ๋ยคอก  การแพร่กระจายระหว่างฟาร์ม เกิดจาก การเดินเข้าออกในฟาร์มโดยไม่ผ่านการล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ การทิ้งขยะ หนู สัตว์ฟันแทะอื่นๆ แมลงวัน นกป่า โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำ  นอกจากนี้ เชื้ออาจถูกพบบนเปลือกไข่ทั้งชั้นนอกและชั้นใน ซึ่งอาจแพร่เชื้อระหว่างการนำเข้าไปยังตู้ฟักได้ การพัดของลมไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังฟาร์มอื่นได้ ส่วนใหญ่การแพร่เชื้อระหว่างฟาร์มเกิดจากการเคลื่อนย้ายรถ คน เครื่องมืออุปกรณ์ระหว่างฟาร์ม
            2. การแพร่กระจายระหว่างสัตว์ปีก
            การแพร่โรคระหว่างสัตว์ปีกหรือในฝูงสัตว์ปีก มักพบผ่านทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะฟุ้งกระจายในอากาศ ซึ่งมาจากน้ำคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค  นอกจากนี้ ยังมาจากการสัมผัสอุจจาระสัตว์ป่วย
            3. การแพร่กระจายโรคจากสัตว์สู่คน
            มนุษย์สามารถได้รับเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก บาดแผลผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเชื้อมักจะปนเปื้อนมากับอุจจาระ น้ำคัดหลั่งของสัตว์ป่วย กลุ่มเสี่ยงได้แก่คนที่ทำงานในฟาร์ม คนเชือดไก่ คนเลี้ยงสัตว์ปีก คนเชือดไก่ คนที่เดินผ่านตลาดซื้อขายสัตว์ปีก คนที่สัมผัสเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อน คนที่สัมผัสไข่ไก่ที่ปนเปื้อนเชื้อ สามารถได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
อาการของสัตว์ป่วย
            -  ตายอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่สามารถสังเกตอาการได้
            -  มีน้ำมูก ไอจาม หลอดลมอักเสบ ผอมแห้ง เบื่ออาหาร ท้องเสีย
            -  ไข้ลด ไข่นิ่ม มีรูปร่างผิดปกติ
            -  เหนียงบวม หงอนบวม หน้าบวม เปลือกตาบวม ข้อบวม หลอดลมบวมน้ำ
            -  มีจุดเลือดออกสีแดงคล้ำบริเวณ เหนียง หงอน และขา ของสัตว์ปีก
            -  การเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชักกระตุก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น